แนะนำการเลือกใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้า WELPRO & IWELD ขั้นเบื้องต้น

การเชื่อมคือการทำให้ชิ้นงานสองชิ้นติดกัน บางครั้งอาจจะใช้ลวดเติม (หรือธูปเชื่อม)เพื่อใช้ในการต่อเชื่อมก็ได้ หลักการเชื่อมคือการหลอมละลายโลหะเข้าด้วยกันโดยพยายามไม่ให้อากาศอ๊อกซิเจนเข้าไปผสมในบริเวณบ่อหลอมละลายเพื่อป้องกันการอ๊อกซิไดซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดสนิม บทความนี้เลยขอแนะนำเครื่องเชื่อมต่างๆ สำหรับช่างเชื่อมหรือพ่อบ้านที่กำลังเลือกซื้อเครื่องเชื่อมเอาไปใช้งาน

เครื่องเชื่อมแก๊ส Gas Welding

เริ่มที่ตัวแรก กันเลย คือเครื่องเชื่อมแก๊ส (Gas Welding) เครื่องเชื่อมชนิดนี้จะใช้แก๊ส (หรือก๊าซ) ที่เผาไหม้ได้ผสมกับแก๊สอ๊อกซิเจนเพื่อให้เกิดเปลวไฟที่มีความร้อนสูงเพื่อใช้ในการหลอมเนื้อโลหะให้ติดกัน การเชื่อมวิธีนี้อาจไม่จำเป็นต้องใช้ลวดเติม ลวดเชื่อม ธูปเชื่อม นอกจากการเชื่อมชิ้นงานแล้ว การเชื่อมก๊าชยังสามารถนำไปใช้ในการตัดโลหะได้อีกด้วย การเชื่อมแก๊สเป็นวิธีที่ง่ายและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายวิธีหนึ่ง แก๊สที่ใช้ส่วนใหญ่คืออะซิติลีน

ข้อดีข้อดี: ข้อดีของการเชื่อมแก๊สคือ เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ง่าย พกพาสะดวก ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า หรือไปทำงานบริเวณที่ไฟฟ้า เข้าไม่ถึง อยู่ในพื้นที่ห่างไกล

ข้อเสียข้อเสีย: ข้อเสียของการเชื่อมแก๊สคือ อันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากแก๊สข้อเสีย: ข้อเสียของการเชื่อมแก๊สคือ อันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากแก๊สรั่ว , แก๊สพิษเนื่องจากผสมแก๊สไม่ถูกต้อง, การระเบิดของถังแก๊ส ฉะนั้นการเชื่อมแก๊สนี้ไม่เหมาะกับช่างมือใหม่ที่ใช้เชื่อมตามบ้าน หรือหาประสบการณ์ สรุป: วิธีเชื่อมแก๊สนี้เหมาะสำหรับ การเชื่อมโลหะที่เป็นแผ่นบาง ตามซอกและที่แคบ การเชื่อมสนามที่บริเวณนั้นไม่มีไฟฟ้าหรือเครื่องปั่นไฟ

เครื่องเชื่อมไฟฟ้า หรือการเชื่อมโลหะด้วยธูปเชื่อมหุ้มฟลักซ์

ตัวที่สองคือการเชื่อมไฟฟ้า หรือการเชื่อมโลหะด้วยธูปเชื่อมหุ้มฟลักซ์ (Manual Matel Arc Weldingหรือ MMA) เครื่องเชื่อมไฟฟ้าจะใช้กระแสไฟฟ้าทำให้เกิดกระแสไฟอาร์กระหว่างธูปเชื่อม (หรือลวดเชื่อม) กับชิ้นงาน ความร้อนที่เกิดขึ้นทำให้ปลายลวดเชื่อมหลอมละลายลงไปเติมแนวเชื่อม ส่วนฟลักซ์เมื่อถูกหลอมละลายบางส่วนจะกลายเป็นแก็สปกคลุมบริเวณแนวเชื่อมเพื่อป้องกันอากาศที่มีอ๊อกซิเจน ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดสนิม บางส่วนจะกลายเป็นสแลกปกคลุมแนวเชื่อม กระแสไฟที่ใช้เชื่อมสามารถใช้ได้ทั้งกระแสตรง (ARC DC) หรือกระแสสลับ (ARC AC) ซึ่งเราจะขออธิบายในคราวต่อไป

ข้อดี

ข้อดี: ข้อดีของใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้าคือ เชื่อมได้เร็ว เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ง่าย พกพาสะดวก ตัวเครื่องมีกำลังไฟให้เลือกเยอะ ราคาประหยัด ไม่ต้องใช้แก๊ส

ข้อเสียข้อเสีย: ข้อเสียของการเชื่อมแก๊สคือ อันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากแก๊สข้อเสีย: ข้อเสียของการใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้าคือ ความร้อนและสะเก็ดไฟหรือประกายไฟที่เกิดจากการอาร์ก ควันมาก ต้องมีแหล่งจ่ายไฟ ไม่เหมาะกับการเชื่อมชิ้นงานบางๆ

สรุป: เครื่องเชื่อมไฟฟ้าชนิดนี้เหมาะสำหรับช่างมือใหม่ที่ต้องการเรียนรู้วิธีการเชื่อมโลหะ จนถึงช่างที่มีประสบการณ์ในการเชื่อม การเชื่อมโลหะด้วยธูปเชื่อมหุ้มฟลักซ์ไม่เหมาะกับการเชื่อมสแตนเลสและอลูมิเนียม (ชิ้นงานที่บางๆ)

เครื่องเชื่อมไฟฟ้า คุณภาพดี ประหยัดไฟ มีใบรับประกัน ที่อยากแนะนำคือ เครื่องเชื่อมไฟฟ้า รุ่น WELPRO WELARC140IGBT, WELPRO WELARC160, WELPRO WELARC200 , IWELD MMA 140IGBT, IWELD MMA 160, IWELD MMA 200

เครื่องเชื่อมทิก TIG Tungsten Inert Gas Welding

ตัวที่สามคือเครื่องเชื่อมทิก TIG (Tungsten Inert Gas Welding)หรือเครื่องเชื่อมอาร์กอน การใช้เครื่องเชื่อม TIG จะใช้การนำกระแสไฟฟ้าที่ปลายลวดทังสแตน(Tungsten) ส่งผ่านไปยังแนวเชื่อมเพื่อให้เกิดความร้อนและชิ้นงานหลอมละลายจนติดกันเอง โดยอาศัยแก๊สอาร์กอนซึ่งเป็นแก๊สเฉื่อยปกคลุมบริเวณแนวเชื่อมเพื่อป้องกันอากาศที่มีอ๊อกซิเจนซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดสนิม แก๊สอาร์กอนทำหน้าที่เหมือนฟลั๊กของลวดเชื่อมธูปที่ใช้งานในเครื่องเชื่อมไฟฟ้า MMA ในบางกรณีเราอาจใช้ลวดเติมพร้อมกับการใช้เครื่องเชื่อมทิกเพื่อให้ได้แนวเชื่อมตามที่ต้องการ

ข้อดี

ข้อดี: ข้อดีของใช้เครื่องเชื่อมทิก TIG คือ แนวเชื่อมสวยงาม ชิ้นงานเนียบมีคุณภาพ สะอาด ควันน้อย ไม่มีประกายไฟ ไม่ต้องใข้ลวดเติม สามารถเชื่อมชิ้นงานบางๆได้ ทั้งสแตนเลส อลูมิเนียม ทองเหลือง ทองแดง เครื่องเชื่อม TIG บางรุ่นสามารถทำการเชื่อมโลหะด้วยธูปเชื่อมหุ้มฟลักซ์

ข้อเสียข้อเสีย: ข้อเสียของการใช้เครื่องเชื่อมทิก TIG คือ เชื่อมได้ช้า ราคาค่อนข้างแพง ต้องใช้ความชำนาญในการเชื่อม การตั้งค่าค่อนข้างซับซ้อน ต้องมีแหล่งจ่ายไฟ ต้องใช้แก๊ส

สรุป: เครื่องเชื่อมทิก TIG ชนิดนี้เหมาะสำหรับงานคุณภาพที่ต้องอาศัยความปราณีตของช่างที่มีประสบการณ์ในการเชื่อม เหมาะกับการเชื่อมสแตนเลสและอลูมิเนียม (ชิ้นงานที่บางๆ)

เครื่องเชื่อมTIG คุณภาพดี ประหยัดไฟ มีใบรับประกัน ที่อยากแนะนำคือ เครื่องเชื่อมTIG รุ่น WELPRO WELTIG 160, WELPRO WELTIG 200, WELPRO WELTIG 250 , IWELD TIG 160, IWELD TIG 160, IWELD TIG 200, IWEL TIG/MMA 185

เครื่องเชื่อมมิก MIG Metal Inert Gas

ตัวที่สี่เครื่องเชื่อมมิก MIG (Metal Inert Gas) หรือที่ช่างเรียกกันว่าเครื่องเชื่อมคาร์บอน (CO2) ซึ่งที่จริงแล้วเครื่องเชื่อมชนิดนี้อาจจะใช้แก๊สผสมด้วยคาร์บอนก็ได้ขึ้นอยู่กับชิ้นงานที่ต้องการเชื่อม เครื่องเชื่อมมิกจะเชื่อมโดยการป้อนเนื้อลวดลงไปที่ชิ้นงานอัตโนมัติโดยเครื่องเชื่อมเพื่อให้เกิดการหลอมละลายอย่างต่อเนื่องโดยมีแก๊สคาร์บอนปกคลุมตามแนวเชื่อมเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศอ๊อกซิเจนเข้าไปที่บ่อหลอมละลาย

ข้อดี

ข้อดี: ข้อดีของเครื่องเชื่อมมิก MIG คือ เชื่อมโลหะได้เกือบทุกชนิด เหล็ก สแตนเลส อลูมิเนียม ทองแดง เหล็กเหนียว เครื่องเชื่อมมิกสามารถเชื่อมแบบป้อนลวดเติมแบบอัตโนมัติ การเชื่อมมิกสามารถเดินแนวเชื่อมได้อย่างต่อเนื่องและเร็วกว่าการเชื่อมไฟฟ้าที่ใช้ธูปเชื่อมที่ต้องเปลี่ยนธูปเชื่อมบ่อยๆ เครื่องเชื่อมมิกบางรุ่นสามารถเชื่อมแบบธรรมดาโดยใช้ธูปเชื่อมได้

ข้อเสียข้อเสีย: ข้อเสียของการใช้เครื่องเชื่อมมิก MIG คือ ราคาค่อนข้างสูง ต้องใช้ความชำนาญในการเชื่อม การตั้งค่าค่อนข้างซับซ้อน ต้องมีแหล่งจ่ายไฟและใช้แก๊ส ไม่เหมาะกับการเคลื่อนย้ายบ่อยๆ ใช้กระแสไฟสูง

สรุป: เครื่องเชื่อมมิก MIG ชนิดนี้เหมาะสำหรับงานเชื่อมตามโรงงานอุตสาหกรรม งานเชื่อมที่ต้องการคุณภาพงานสูง เหมาะกับการเชื่อมงานได้ทุกประเภท

เครื่องเชื่อมมิก MIG คุณภาพดี ประหยัดไฟ มีใบรับประกัน ที่อยากแนะนำคือ เครื่องเชื่อมมิก MIG รุ่น WELPRO WELMIG/MMA 200Y, WELPRO WELMIG/MMA 250Y1, WELPRO WELMIG/MMA 250Y3 

เครื่องเชื่อม MMA รุ่น Extreme 120 เครื่องเชื่อม Hugong ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ เครื่องเชื่อมพกพา 120 A อีด ทน แอมป์ เต็ม

฿2,300.00 บาท

เครื่องเชื่อม MMA รุ่น Extreme 160 เครื่องเชื่อม Hugong ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ เครื่องเชื่อมพกพา 160 A อีด ทน แอมป์ เต็ม

฿3,600.00 บาท

ARC200D+ เครื่องเชื่อม(JASIC)

฿6,192.00 บาท

ARC205 เครื่องเชื่อม (JASIC)

฿5,538.00 บาท

ARC300S(300) เครื่องเชื่อม 1 PH(JASIC)

฿11,997.00 บาท

ARC400-Z312 เครื่องเชื่อม (IGBT)(JASIC)

฿24,510.00 บาท

CMT416 เครื่องเชื่อม MMA,TIG,CUT(JASIC)

฿19,968.00 บาท

CUT100-L201 เครื่องตัดพลาสมา100A(JASIC)

฿33,063.00 บาท

CUT40L207 1PH เครื่องตัดพลาสมา 40A JASIC

฿9,758.00 บาท

CUT60 3PH เครื่องตัดพลาสมา 60A PILOT

฿21,590.00 บาท

CUT60L211 1PH เครื่องตัดพลาสมา 60A PILOT

฿21,922.00 บาท

CUT80 3PH เครื่องตัดพลาสมา 80A(JASIC)

฿25,202.00 บาท

MAXARC250 เครื่องเชื่อม(JASIC)

฿9,261.00 บาท

MIG160-N219 เครื่องเชื่อม+ป้อนลวด

฿14,283.00 บาท

MIG200-N214 เครื่องเชื่อม 1PH (5KG/15KG)

฿14,633.00 บาท

Related Posts