หาปั๊มลมมาใช้เอง วิธีเลือกปั้มลมให้เหมาะ

วาล์วเครื่องพ่นหมอกควัน

ปั๊มลม ลูกสูบ พู่เล่ ปั๊มลมสายพาน
ปั๊มลม ลูกสูบ พู่เล่ ปั๊มลมสายพาน
ปั๊มลมพลังงานใหม่ที่น่าสนใจ เนื่องจากมีเครื่องมือลมลองรับมากมาย เช่น ปืนลม สกัดคอนกรีตลม ปากกาลม ไขควงลม สว่านลม AIR DRILLS, ปืนเป่าลม AIR BLOW GUN, เครื่องยิงตะปูลม AIR STRAPLERS/AIR NAILERS เป็นต้น 

การใช้ปั๊มลมจึงเป็นที่นิยม เพราะสามารถใช้กับอุตสาหกรรมได้เป็นแหล่งพลังงานขับเคลื่อน ปั้มลมของเครื่องจักร ปั้มลมของเครื่องมือลม หรือแม้กระทั้งหุ่นยนต์ ปั๊มลมสำหรับงานอุตสาหกรรม ปั๊มลมตามอู่ซ่อมรถ ร้านปะยาง ปั๊มลมพ่นสีตามอู่ซ่อมสีรถยนต์ บริการล้างรถ ปั๊มลมสำหรับงานไม้ เฟอนิเจอร์ ตกแต่งภายใน หรือใช้ตามบ้านสำหรับงานอดิเรก พ่นสีโมเดล ใช้ปั๊มลมกับแอร์บลัช เพื่องานประกอบโมเดล ปั๊มลม หรือเครื่องอัดลม เราควรมาดูความต้องการใช้งานปั๊มลมให้เหมาะสมกับงานปั๊ม

เครื่องมือลม Air tool

ปั๊มลมสามารถแบ่ง 6 ประเภท

1. เครื่องอัดลมหรือ ปั๊มลมแบบลูกสูบ (PISTON COMPRESSOR)
2. เครื่องอัดลมหรือ ปั๊มลมแบบสกรู (SCREW COMPRESSOR)
3. เครื่องอัดลมหรือ ปั๊มลมแบบไดอะเฟรม (DIAPHARGM COMPRESSOR)
4. เครื่องอัดลมหรือ ปั๊มลมแบบใบพัดเลื่อน (SLIDING VANE ROTARY COMPRESSOR)
5. เครื่องอัดลมหรือ ปั๊มลมแบบใบพัดหมุน (ROOTS COMPRESSOR)
6. เครื่องอัดลมหรือ ปั๊มลมแบบกังหัน (RADIAL AND AXIAL FLOW COMPRESSOR)

1. ปั๊มลมแบบลูกสูบ (PISTON COMPRESSOR)

เป็นเครื่องอัดลมหรือปั๊มลมที่นิยมใช้ถือว่าเป็นปั๊มลมที่ใช้กันมากที่สุดเนื่องจากความสามารถอัดลม คือสร้างความดันหรือแรงดันได้ตั้งแต่ 1บาร์ (bar)ไล่ระดับไปจนถึงเป็นพันบาร์(bar) ทำให้ปั๊มลมแบบลูกสูบทำได้ตั้งแต่ความดันต่ำ ความดันปานกลาง จนไปถึงความดันสูง มีแบบใช้สายพาน จะให้เสียงเงียบกว่าแบบ โรตารี่ ที่มีมอเตอร์ในตัว ข้อดีของโรตารี่คือได้ลมใช้งานที่เร็วกว่าแบบสายพาน

ปั๊มลมแบบลูกสูบ PISTON COMPRESSOR
ปั๊มลมแบบลูกสูบ PISTON COMPRESSOR
การทำงานปั๊มลมแบบลูกสูบ

ลูกสูบจะมีการเคลื่อนตัวในแนวดิ่ง ทำให้เกิดการดูดและอัดภายในกระบอกสูบ โดยที่ ช่วงการดูดอากาศ ลิ้นช่องดูดเข้าจะทำการเปิดออกเพื่อดึงอากาศเข้ามาภายในกระบอกสูบ แต่ลิ้นทางด้านอัดอากาศออกจะปิดสนิท จากนั้นเมื่อถึงช่วงการอัดอากาศ ตัวลูกสูบจะดันอากาศให้ออกทางลมออก ทำให้ลิ้นทางลมออกเปิด ส่วนทางลิ้นดูดอากาศก็จะปิดลง เมื่อลูกสูบของปั้มลมขยับขึ้นลงจึงเกิดการดูดและอัดอากาศขึ้น

Tip เลือกปั๊มลมแบบลูกสูบ

*** ในส่วนของมอเตอร์ปั๊มลม จุดสังเกตว่าปั้มลมมีประสิทธิภาพที่ดี ให้ดูตัว สเตเตอร์มอเตอร์ว่าต้องไม่มีขนาดเล็กเกินไป
*** ท่อส่งลมเข้าสู่ถังเก็บหากมีครีบระบายความร้อนก็จะดียิ่งขึ้น

2. ปั๊มลมแบบสกรู (SCREW COMPRESSOR)

เป็นที่นิยมในโรงงาน ตัวเครื่องมีการผลิตที่มีคุณภาพสูงในการผลิตโรเตอร์ ตัวเครื่องจะ ไม่มีลิ้นในการเปิดปิด แต่ต้องการระบบระบายความร้อนที่ดีออกจากปั้มมีทั้งระบบระบายความร้อนด้วยอากาศหรือใช้น้ำระบายความร้อนหากเป็นเครื่องขนาดใหญ่ ปั๊มลมจะสามารถจ่ายลม 170 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที (m3/min) อีกทั้งสร้างความดันได้ถึง 10 บาร์

ปั๊มลมแบบสกรู SCREW COMPRESSOR ปั้มลมโรงงาน
ปั๊มลมแบบสกรู SCREW COMPRESSOR ปั้มลมโรงงาน
การทำงานปั๊มลมแบบสกรู

ภายในปั๊มลมอัดอากาศ จะมีโรเตอร์เกลียวสกรูคู่กัน โดยที่สกรูที่สองเพลาที่ขบกัน จะเรียกว่า เพลาตัวผู้และเพลาตัวเมีย ทั้ง 2 ตัวเป็นสกรูที่มีทิศทางการหมุนเข้าหากันทำให้อากาศจากภายนอกถูกดูดและอัดส่งไปรอบๆกระบอกปั๊ม และส่งผ่านไปทางออกเข้าสู่ถังเก็บลม โดยที่ เพลาตัวผู้และเพลาตัวเมียหมุนด้วยความเร็วรอบเกือบเท่ากัน และเพลาตัวผู้จะมีการหมุนเร็วกว่าเพลาตัวเมียเล็กน้อย การไหลของแรงลมจะราบเรียบกว่าแบบลูกสูบ

3. เครื่องอัดลมหรือ ปั๊มลมแบบไดอะเฟรม (DIAPHARGM COMPRESSOR)

เป็นปั๊มลมที่ใช้ตัวไดอะแฟรมทำให้การทำงานของลูกสูบและหัวดูดอากาศแยกออกจากกัน ดังนั้นลมที่ถูกดูดเขาในปั๊ม หรืออัดอากาศ จะไม่ได้มีการโดนหรือสัมผัสกับส่วนที่เป็นโลหะ และลมที่ได้จะไม่มีการผสมน้ำมันหล่อลื่นแต่จะไม่สามารถสร้างแรงดันได้สูง ข้อดีคือลมที่ได้จากปั๊มประเภทนี้จึงมีความปลอดภัยมากและมักใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมเคมี และนิยมใช้ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำเนื่องจากเสียงที่เงียบกว่าแบบลูกสูบ

เครื่องอัดลมหรือ ปั๊มลมแบบไดอะเฟรม DIAPHARGM COMPRESSOR
เครื่องอัดลมหรือ ปั๊มลมแบบไดอะเฟรม DIAPHARGM COMPRESSOR
การทำงานปั้มลมแบบไดอะเฟรม

ระบบอัดลมลักษณะนี้จะใช้แผ่นไดอะแฟรมเป็นตัวดูดอากาศ ในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ลงแผ่นไดอะแฟรมจะดูดอากาศจากภายนอกผ่านวาล์วที่จะให้ลมผ่านเข้ามาจากภายนอก เข้ามาในห้องเก็บลม และเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นสุดแผ่นไดอะแฟรมก็จะอัดอากาศภายในห้องสูบทั้งหมดผ่านวาล์วทางออกของลม เข้าไปยังถังเก็บลม

4. เครื่องอัดลมหรือ ปั้มลมแบบใบพัดเลื่อน (SLIDING VANE ROTARY COMPRESSOR)

ปั้มลมชนิดนี้ข้อดีคือเสียงจะไม่ดังการทำงานของการหมุนจะเรียบมีความสม่ำเสมอการอัดอากาศคงที่ ไม่มีลิ้นหรือวาล์วในการเปิดปิดในพื้นที่จำกัดทำให้ไวต่อความร้อน หากต้องการประสิทธิภาพที่ดีจะต้องผลิตด้วยความประณีต สามารถกระจายลม 4-100 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที (m3/min) ส่วนความดันทำได้ที่ 4-10 บาร์(Bar)

เครื่องอัดลมหรือ ปั๊มลมแบบใบพัดเลื่อน SLIDING VANE ROTARY COMPRESSOR
เครื่องอัดลมหรือ ปั๊มลมแบบใบพัดเลื่อน SLIDING VANE ROTARY COMPRESSOR
การทำงานปั้มลมแบบใบพัดเลื่อน

ตัวเครื่องจะมีใบพัดติดอยู่กับชุดขับเคลื่อนการหมุนหรือเรียกว่า โรเตอร์ และวางให้เยื้องศูนย์ภายในของเรือนสูบ เมื่อมีการหมุนของโรเตอร์ใบพัดก็จะอัดอากาศจากพื้นที่กว้างไปสู่ที่แคบกว่า ดูดอากาศเข้า ด้วยการหมุนที่คงที่และอัดอากาศออกทางช่องที่ลมออก

5. ปั้มลมแบบใบพัดหมุน (ROOTS COMPRESSOR)

เครื่องนี้จะมีใบพัดหมุน 2 ตัว เมื่อโรเตอร์ 2 ตัวทำการหมุน อากาศจะถูกดูดจากฝากหนึ่งไปยังอีกฝากหนึ่ง โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงปริมาตร ทำให้อากาศไม่ถูกบีบหรืออัดตัว แต่อากาศจะถูกอัดตัวก็ต่อเมื่ออากาศได้ถูกส่งเข้าไปยังถังเก็บลม ปั้มลมแบบนี้ต้นทุนการผลิตจะแพง ไม่มีลิ้น ไม่ต้องการหล่อลื่นขณะทำงาน แต่ต้องมีการระบายความร้อนที่ดี

ปั๊มลมแบบใบพัดหมุน ROOTS COMPRESSOR
ปั๊มลมแบบใบพัดหมุน ROOTS COMPRESSOR
การทำงานปั้มลมแบบใบพัดหมุน

ใบพัดหมุน 2 ตัวจะหมุนที่ทางตรงกันข้ามกัน เมื่อโรเตอร์ 2 ตัวทำการหมุน ทำให้อากาศจะถูกดูดจากทางลมเข้าไปยังอีกช่องทางฝั่งลมออก โดยไม่ทำให้อากาศไม่ถูกบีบหรืออัดตัว

6. ปั๊มลมแบบกังหัน (RADIAL AND AXIAL FLOW COMPRESSOR)

ปั้มลมแบบนี้จะได้อัตราการจ่ายลมที่มาก ลักษณะเป็นใบพัดกังหันดูดเข้ามาจากด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่งด้วยการหมุนความเร็วสูง ลักษณะใบพัดจึงมีส่วนสำคํญเรื่องอัตราการจ่ายลมด้วย

ปั๊มลมแบบกังหัน RADIAL AND AXIAL FLOW COMPRESSOR
ปั๊มลมแบบกังหัน RADIAL AND AXIAL FLOW COMPRESSOR
การทำงานปั๊มลมแบบกังหัน

เครื่องอัดลมทั้งสองแบบนี้ใช้หลักการของกังหันใบพัด การเคลื่อนที่ของโรเตอร์ด้วยความเร็วสูง อากาศจะถูกดูดผ่านใบพัดด้านหนึ่งและจะอัดอากาศไปยังใบพัดอีกด้านหนึ่งโดยไหลตามแกนเพลาไปยังอีกฝั่ง สามารถกระจายลม 170-2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที (m3/min)

วิธีการเลือกซื้อปั๊มลม

เราต้องเลือกดูงานที่เราจะใช้ เราต้องการปั๊มที่แรงดันมากน้อยขนาดไหน ปริมาณลมที่ต้องการมาก ความต่อเนื่องของงาน หรือปริมาณการจ่ายลม ลมที่ใช้ต้องสะอาดระดับไหน เช่น การทำงานของช่างไม้ ใช้ปั้มลูกสูบ อาจจะต้องการแรงลมมากพอสมควร อาจจะแตกต่างเรื่องความต่อเนื่องของงานทำให้ ขนาดของถังบรรจุลมที่ใหญ่ สามารถทำงานได้ต่อเนื่อง เครื่องก็จะไม่ต้องทำงานหนักคือปั๊มทำงานบ่อย เมื่อความดันหรือปริมาณลมลดต่ำลง หรือ จะใช้ปั๊มลมกับแอร์บลัช สถานที่การใช้งานมีส่วนสำคัญ เช่น แหล่งชุมชน บ้านพักอาศัย อาจก่อให้เกิดความรำคาญได้ หากต้องเลือก ระหว่าง ปั๊มลมสายพาน กับโรตารี่ (Rotary) ปั๊มลมสายพานจะเสียงเบากว่าปั๊มลม โรตารี่ (Rotary) หากต้องการลมที่มีความสะอาด ใช้ปั๊มลมแบบ ไดอะเฟรม เพราะลมจะไม่ได้สัมผัสกับโลหะเลย แต่ให้แรงลมน้อย ใช้กับอุดสาหกรรมเคมี อาจมีอาการลมขาดช่วงบ้าง ส่วนปั๊มลมแบบสกรูเราจะพบเห็นตามโรงงานเป็นส่วนใหญ่ ให้แรงลมต่อเนื่องและมีความดันตามขนาดของตู้ เป็นต้น

วิธีการเลือกปั๊มลมใช้เองที่บ้าน

โดยที่ปั๊มลมที่คนนิยมสูงสุดคือ ปั๊มลมแบบลูกสูบ (PISTON COMPRESSOR) มีหลายยี่ห้อเช่น OKURA, PUMA, SWAN, RAMBO, ROWEL, ANTO
ให้เราเลือกจากการใช้งานของเรา
1. แรงดันลมที่เราใช้งาน
2. ปริมาณแรงลมที่ใช้ต่อเนื่อง
3. สถานที่ใช้งาน เนื่องจากปั้มลมแต่ละประภท จะมีเสียงดังไม่เท่ากัน
4. ลมที่ใช้งานมีความสะอาดขนาดไหน

ลองเลือกให้เหมาะสมกับคุณ

แนะนำปั๊มลมสายพาน PUMA รุ่น PP-1P, OKURA รุ่น RA-21P, PUMA รุ่น PP-21, OKURA รุ่น RA-23WPL , PUMA รุ่น PP-23P, PUMA รุ่น PP-35P, OKURA รุ่น RA-375P, OKURA รุ่น RA-410WPL, OKURA รุ่น RA-430WP, PUMA รุ่น PP-620, PUMA รุ่น PP-630
แนะนำปั๊มลมโรตารี่ ROWEL DO51BM-50, ROWEL DO47BM-50, OKURA รุ่น 2HP24L, OKURA รุ่น 2HP50L, PUMA รุ่น XM-4090 , PUMA รุ่น XM-4070 , RAMBO รุ่น 2HP24L, RAMBO รุ่น 2HP50L, HERO รุ่น HR-2024, HERO รุ่น HR-2050